OSI MODEL & INTERNET MODEL
TCP/IP กับ OSI Model
1. Process Layer จะเป็น Application Protocal ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ
2. Host – to – Host Layer จะเป็น TCP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 4 ของ OSI Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายทางด้านรับข้อมูล
3. Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 3 ของ OSI Model คือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป
4. Network Interface เป็นส่วนที่ควบคุมฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย เปรียบได้กับชั้นที่ 1 และ2 ของ OSI Model
เปรียบเทียบ TCP/IP กับ OSI Model
TCP/IP Model มีแนวคิดพื้นฐานแตกต่างจาก OSI Model คือไม่ได้มีพื้นฐานของการสื่อสารแบบการสนทนา TCP/IP Model เป็นภาพแสดงถึงโลกของระบบเครื่อข่ายสากล (Internetworking) จะพบว่ามีบางเลเยอร์ที่มีการกำหนดคุณสมบัติที่เทียบได้ไกล้เคียงกัน แต่บางเลเยอร์ก็ไม่สามารถเทียบหาความสัมพันธ์กัน
เปรียบเทียบสถาปัตยกรรมเครือข่ายรูปแบบ OSI และสถาปัตยกรรมเครือข่ายชุดโปรโตคอล TCP/IP
ข้อแตกต่างระหว่างชุดโปรโตคอล TCP/IP และรูปแบบ OSI
- ลำดับการติดต่อสื่อสารของชั้นเลเยอร์ ในรูปแบบOSI นั้นจะกำหนดลำดับชั้นการสื่อสารที่เป็นลำดับขั้นตอนการติดต่อที่แน่นอน โดยเฉพาะการอินเตอร์เฟซระหว่างชั้นเลเยอร์ ซึ่งทำให้รูปแบบ OSI สามารถเป็นระบบเปิดสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป ในขณะที่ชุดโปรโตคอล TCP/IPจะไม่มีการกำหนดรูปแบบการติดต่อที่ตายตัว เพื่อให้ผู้ออกแบบเครือข่ายมีอิสระสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเครือข่ายได้ง่าย
- การสื่อสารระหว่างเครือข่ายหรือการอินเตอร์เน็ต (Internet) คือการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ 2ระบบ ที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยผ่านทางเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลเพียงเครือข่ายเดียวได้ ต้องอาศัยเครือข่ายตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปในการติดต่อสื่อสารกัน และเครือข่ายเหล่านี้อาจจะมีลักษณะของเครือข่ายที่ต่างกันก็ได้ ความแตกต่างในเรื่องนี้คือ TCP/IP จะใช้โปรโตคอลสำหรับอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า โปรโตคอล IP (Internet Protocol ) ซึ่งในรูปแบบ OSI จะเรียกว่า โปรโตคอล Network
- บริการการเชื่อมต่อการสื่อสาร (Connection Service) ในชุดโปรโตคอล TCP/IP นั้นจะมีการบริการการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างต้นทางและปลายทาง 2 แบบ คือการบริการแบบ Connectionless และแบบConnection oriented ส่วนในรูปแบบ OSI จะให้ความสำคัญเฉพาะกับการบริการแบบ Connection orientedเท่านั้น
- โปรโตคอลควบคุมการจัดการสื่อสาร ในชุดโปรโตคอล TCP/IP จะใช้โปรโตคอล TCP (Transmission Control Protocol) เป็นโปรโตคอลสำหรับควบคุมการสื่อสาร กำหนดตำแหน่งต้นทาง และปลายทาง และอื่นๆ กับข้อมูล ซึ่งในรูปแบบ OSI นั้นจะแบ่งแยกการควบคุมการสื่อสารออกจากกันโดยใช้โปรโตคอลSession และโปรโตคอล Transport ตามลำดับ
โครงสร้างของโปรโตคอล TCP/IP โครงสร้างของสถาปัตยกรรมของชุดโปรโตคอล TCP/IP นั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือส่วนกรรมวิธีปฏิบัติการหรือโปรเซส(Process) โฮส (Host) และเครือข่าย (Network)การทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างโปรเซส โฮส และเครือข่ายของ
สถาปัตยกรรม TCP/IP ทำให้สามารถจัดรูปแบบของสถาปัตยกรรม TCP/IP ได้เป็น 4 เลเยอร์ ซึ่งได้แก่
- เลเยอร์ Network Access จะประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารเข้ากับเครือข่าย หน้าที่ของโปรโตคอลนี้คือจัดเส้นทางของข้อมูลให้ระหว่างโฮสกับโฮส ควบคุมการไหลของข้อมูล และควบคุมความผิดพลาดของข้อมูล
- เลเยอร์ Internet ประกอบด้วยขั้นตอนการอนุญาตให้ข้อมูลไหลผ่านไปมาระหว่างโฮสของเครือข่าย 2เครือข่ายหรือมากกว่า ดังนั้นโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้น Internet นอกจากจะมีหน้าที่จัดเส้นทางของข้อมูลแล้ว ยังต้องทำหน้าที่เป็นเกตเวย์สำหรับการติดต่อกับเครือข่ายอื่นอีกด้วย
- เลเยอร์ Host-to-Host ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ส่งผ่านแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเอนทิตี้ของโฮสต่างเครื่องกัน นอกจากนั้นโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้นนี้ยังมีหน้าที่ในการควบคุมการไหลของข้อมูลและควบคุมความผิดพลาดของข้อมูลด้วย โปรโตคอลที่ใช้กันโดยทั่วไปในเลเยอร์ชั้นนี้ได้แก่
~ โปรโตคอล Reliable Connection-Oriented โดยทำหน้าที่จัดลำดับของข้อมูล ตรวจสอบตำแหน่งของต้นทางและปลายทางของข้อมูล ทำให้ข้อมูลนั้นเชื่อถือได้
~ โปรโตคอล Datagram เพื่อลดขนาดของ Overhead ของข้อมูล และจัดเส้นทางการสื่อสาร
~ โปรโตคอล Speed เพื่อเพิ่มความเร็วในการสื่อสารข้อมูลโดยการลดเวลาประวิง (Delay) ให้เหลือน้อยที่สุด
~ โปรโตคอล Real-time เป็นการรวมลักษณะของโปรโตคอล Reliable Connection-oriented กับโปรโตคอล Speed
- เลเยอร์ Process/Application ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่แชร์แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินัลที่อยู่ไกลออกไป
ในปัจจุบัน TCP/IP เป็นโปรโตคอลชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ทั้งในเครือข่าย LAN และWANในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นระบบ UNIX,MS-DOS,OS/2 หรือเมนเฟรมและระบบปฏิบัติการหลายชนิดในระบบ Lan เช่น Netware 2.x และ 3.x, VINES และLAN Manager ก็ออกแบบมาให้สามารถรองรับโปรโตคอล TCP/IP ได้ทั้งสิ้น แม้ว่า TCP/IP ส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้กับเครือข่าย Lan แบบEtherNer แต่ TCP/IP ก็สามารถนำมาใช้กับ Lan แบบ ToKen-Ring และแบบ ARCnet ได้เช่นกัน
สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบ OSI
สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบ OSI ได้แบ่งระดับชั้นออกเป็น 7 ระดับชั้น คือ
1. ระดับชั้นฟิสิคัล
2. ระดับชั้นดาต้าลิงค์
3. ระดับชั้นเน็ตเวิร์ก
4. ระดับชั้นทรานสปอร์ต
5. ระดับชั้นแซสซัน
6. ระดับชั้นพรีเซ็นเตชัน
7. ระดับชั้นแอปพลิเคชั่น
การทำงานในแต่ละระดับชั้นของสถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI
1. การเชื่อมโยงระหว่างต้นทางและปลายทาง
2. การติดต่อระหว่างเครื่องต่อเครื่อง
3. ส่วนที่สนับสนุนผู้ใช้งาน
สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชุดโปรโตคอล TCP/IP
สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชุดโปรโตคอล TCP/IP ได้มีการแบ่งโครงสร้างการทำงานออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. กรรมวิธีปฎิบัติการหรือโปรเซส
2. โฮสต์ ทุกโปรเซสจะต้องส่งไปทำงานที่โฮส
3. เครือข่าย
สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชุดโปรโตคอล TCP/IP ได้มีการแบ่งระดับชั้นออกเป็น 4 ระดับ คือ
1. ระดับชั้น Host to Network
2. ระดับชั้น Internet
3. ระดับชั้น Host to Host
4. ระดับชั้น Appication